น้ำตกที่ บางสะพาน
1.น้ำตก น้ำตกพนาสวรรค์ เป็นน้ำตกที่มีความสภาพเป็นธรรมชาติมาก มีชั้นน้ำตกประมาณ 10 ชั้น ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 บ้านธรรมรัตน์ ต.ช้างแรก
2.บึง ทะเลสาบ แหล่งน้ำ เขื่อนแก่งหินปิด เป็นลำธารน้ำ สองฝ่ายลำธารมีหินขนาดใหญ่ มีน้ำใสสะอาดไหลผ่านตลอดปี ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 บ้านหินปิด ต.ช้าง
3.น้ำตกไชยราช เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ภาคเอกชนจัดทำขึ้นเอง โดยแปลงสภาพจากห้วยธรรมชาติมาเป็นน้ำตกที่ดัดแปลงขึ้นเอง โดยมีบึงสำหรับให้เล่นน้ำ และเปิดกิจการร้านค้าอาหาร และมีบังกะโลสำหรับพักค้างคืน
ที่ตั้ง 17 หมู่ที่ 1 บ้านไชยราช ต.ไชยราช อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ การเดินทาง ได้ทั้งรถยนต์ส่วนตัว และรถโดยสารประจำทาง ระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงตำบลไชยราชประมาณ 435 กิโลเมตร และจากถนนเพชรเกษมเข้าไปน้ำตกประมาณ 1 กิโลเมตร พื้นที่ 6 ไร่
4.น้ำตกขาอ่อน หรือทับมอญ อ. ทับสะแก จ. ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีขนาดลำธารตอนล่างกว้างประมาณ 6 เมตร ประกอบด้วยชั้นน้ำตกรวม 9 ชั้น จะเป็นธารน้ำตกสูงประมาณ 2-5 เมตร สลับกับแนวโขดหิน ชั้นที่ 5 เป็นชั้นที่มีผาน้ำตกมีความสูงประมาณ 15 เมตร อยู่ใกล้ชายแดนพม่าในเขตอำเภอบางสะพาน ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 60 กิโลเตร สามารถเดินทางจากถนนเพชรเกษมไปตามเส้นทางหนองหอย - บ้านตะแบกโพรง หรือสายหนองหญ้าปล้อง – บ้านหนองบอน อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ หย.2 (น้ำตกขาอ่อน) 2 กิโลเมตร
5.น้ำตกไทรคู่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 บ้านเขาแก้ว ตำบลทองมงคลอยู่ห่างจากตัวอำเภอบางสะพานประมาณ 24 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัด 98 กิโลเมตร บริเวณน้ำตก มีพื้นที่ประมาณ 200 ไร่สถิตินักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวน้ำตกไทรคู่ประมาณ 50 - 100 คน/วัน ช่วงที่มาเที่ยวมากที่สุดอยู่ในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน ของทุกปีน้ำตกไทรคู่แห่งนี้เป็นน้ำตกที่เพิ่งจะค้นพบได้ไม่นาน มีทั้งหมด 9 ชั้น แต่ละชั้นก็จะมีความสวยงามแตกต่างกันไป โดยชั้นที่มีความสวยงามที่สุด มีลักษณะเป็นหน้าผาใหญ่นอกจากนี้ยังมีการพบสัตว์ป่าหลายชนิด ในบริเวณน้ำตกอีกด้วย ส่วนความเป็นมาของชื่อน้ำตก ไทรคู่คือ มีต้นไทรขนาดใหญ่สองต้นขึ้นอยู่ด้านบนของหน้าผาน้ำตกทำให้รอบๆ บริเวณนี้ครึ้มและมีทัศนียภาพที่สวยงาม
สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ
พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ
พระพุทธกิติสิริชัย
พระตำหนักกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์
หาดบ้านกรูด
อ่าวแม่รำพึง
อ่าวบ่อทองหลาง
วัดถ้ำคีรีวงศ์
วัดถ้ำเขาน้อย
วัดเขาโบสถ์พระอารามหลวง
วัดเขาถ้ำม้าร้อง
6.อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 161 ตารางกิโลเมตร หรือ 100,625 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงบนเทือกเขาตะนาวศรี สูงจากน้ำทะเลประมาณ 200-800 ฟุต เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่เกิดจากสันเขากั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหภาพพม่า ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2534 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 70 ของประเทศไทย ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่บริเวณน้ำตกห้วยยาง บริเวณอุทยานฯ ร่มรื่นน่าพักผ่อน นอกจากนี้ยังมีน้ำตกอีกหลายจุดเช่น
น้ำตกห้วยยาง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก 9 ชั้นอยู่ใกล้ที่ทำการอุทยานฯ เหมาะสำหรับการเข้าไปพักผ่อนเพราะมีทิวทัศน์สวยงามและมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่น่าสนใจ
น้ำตกเขาล้าน เป็นน้ำตกที่สวยงามของอุทยานแห่งชาติห้วยยาง อยู่ห่างจากทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) เลยสี่แยก สภ.ต.ห้วยยางไปทางใต้ประมาณ 13 กิโลเมตร กลับรถแล้วชิดซ้ายบริเวณตลาดอุดมนันท์พลาซ่า เลี้ยวซ้ายไปตามถนนเขาล้าน-พุกตะแบกประมาณ 13 กิโลเมตร
น้ำตกห้วยดินดาด มีขนาดลำธารตอนล่างกว้างประมาณ 6 เมตร ประกอบด้วยชั้นน้ำตก 5 ชั้น ในแต่ละชั้นอยู่ใกล้ๆกัน เพราะเป็นน้ำตกที่อยู่ในซอกเขาที่ค่อนข้างสูงชัน ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการไปทางทิศใต้ประมาณ [...]
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก และอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในส่วนที่แคบที่สุดของประเทศ ซึ่งได้รวมจุดเด่นรอบๆ วนอุทยานน้ำตกห้วยยางผนวกเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่ น้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ตลอดจนมีสัตว์ป่านานาชนิด เป็นอุทยานแห่งชาติที่พร้อมด้วยป่าเขา น้ำตก ชายหาด รวมมี เนื้อที่ประมาณ 100,625 ไร่ หรือ 161 ตารางกิโลเมตร
ในปี 2530 กรมป่าไม้ได้รับแจ้งจากสำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีตามหนังสือ ที่ กษ 0714 (พบ)/825 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2530 แจ้งว่า ได้รับหนังสือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ ปจ 0009/940 ลงวันที่ 16 มกราคม 2530 ส่ง รายงานการตรวจดูแลป่าสงวนแห่งชาติของสำนักงานป่าไม้อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ว่า ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าทับสะแก มีน้ำตกที่สวยงาม 2 แห่ง สมควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีจึงได้ให้เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ปจ.3 (ทับสะแก) ออกไปสำรวจข้อมูลรายละเอียดแล้ว ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าวมีน้ำตกขาอ่อน (ทับมอญ) และน้ำตกห้วยหินดาดเหมาะสมจัดตั้งเป็นวนอุทยานเพื่อรักษาสภาพป่าไม้และต้นน้ำลำธารอันสวยงามนี้ไว้ ซึ่ง นายธำมรงค์ ประกอบบุญ ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้มีบันทึกลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2530 เสนอกรมป่าไม้เห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อคุ้มครองรักษาต้นน้ำลำธารนี้ไว้
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กษ 0713/1673 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2530 ให้ นายสินธุ์ มะลิวัลย์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ 4 หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง ทำการสำรวจเบื้องต้นบริเวณน้ำตกทั้ง 2 แห่ง ผลการสำรวจตามหนังสือวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง ที่ กษ 0713(หย)/161 ลงวันที่ 14 กันยายน 2530 เห็นควรผนวกป่าและน้ำตกทั้ง 2 แห่ง เข้ากับวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ ยืนนานต่อไป ต่อมากองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กษ0713/2613 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2531 ให้ วนอุทยานน้ำตกห้วยยางสำรวจพื้นที่หาดวนกรเพื่อผนวกเป็นอุทยานแห่งชาติด้วย ตามคำแนะนำของ นายกษม รัตนไชย ผู้ช่วยป่าไม้เขตเพชรบุรี ผลการสำรวจตามหนังสือวนอุทยานที่ กษ 0713(หย)/148 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 เห็นควรผนวกป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง (หาดวนกร) เข้ากับพื้นที่ทั้งหมดจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเช่นกัน
จากการไปตรวจราชการในท้องที่สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีของ นายยุกติ สาริกะภูติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2531 - 2 มกราคม 2532 ได้สั่งการให้รวมพื้นที่บริเวณหาดวนกรเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติ และในการประชุมผู้อำนวยการกองในสังกัดกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2532 ได้พิจารณาให้ผนวกพื้นที่ป่าห้วยยางและสวนป่าห้วยยาง (พื้นที่ติดต่อกับหาดวนกร) เป็นอุทยานแห่งชาติด้วย
กองอุทยานแห่งชาติจึงได้ดำเนินการผนวกบริเวณพื้นที่ป่าน้ำตกขาอ่อน น้ำตกห้วยหินดาษ และวนอุทยานน้ำตกห้วยยางในป่าทับสะแก ท้องที่ตำบลธงไชย อำเภอบางสะพาน ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และป่าวังด้วน ป่าห้วยยาง ท้องที่ตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง และตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมเนื้อที่ ทั้งหมดประมาณ 124,300 ไร่ หรือ 198.88 ตารางกิโลเมตร (ทั้งนี้รวมที่เป็นพื้นน้ำด้วย 15.36 ตารางกิโลเมตร) ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
ต่อมากองอุทยานแห่งชาติมีความเห็นว่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางซึ่งมีบริเวณน้ำตกขาอ่อน น้ำตกห้วยหินดาษ และวนอุทยานน้ำตกห้วยยางมีพื้นที่เชื่อมติดต่อกันโดยตลอด ส่วนบริเวณป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง (หาดวนกร) มีพื้นที่ไม่ติดต่อกัน เพื่อความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและควบคุม จึงให้แยกเป็น 2 อุทยานแห่งชาติ คืออุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง และอุทยานแห่งชาติหาดวนกร เพื่อคุ้มครองรักษาต้นน้ำลำธารไว้และอนุรักษ์ทรัพยากรให้ยืนนานต่อไป
ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 100,625 ไร่ โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าทับสะแก ในท้องที่ตำบลห้วยยาง ตำบลเขาล้าน ตำบลแสงอรุณ ตำบลนาหูกวาง ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก และตำบลชัยเกษม อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 215 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2534 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 70 ของประเทศไทย
ลักษณะภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางประกอบด้วยเทือกเขาสูงติดต่อกัน มีพื้นที่อยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี ส่วนใหญ่จะเป็นเนินเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,200 เมตร โดยมียอดเขาหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่เกิดจากสันเขากั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหภาพพม่า ได้แก่ คลองอ่างทอง คลองแก่ง คลองทับสะแก คลองจะกระ คลองไข่เน่า คลองตาเกล็ด คลองห้วยยาง คลองห้วยมา และคลองหินจวง ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย และหินเป็นหินแกรนิตและหินลูกรัง ส่วนด้านทิศตะวันออกติดกับพื้นที่ราบและชายทะเลอ่าวไทย
ลักษณะภูมิอากาศ พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางตั้งอยู่ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย และมีพื้นที่อยู่ใกล้ทะเล ลักษณะในแต่ละฤดูกาลจึงไม่แตกต่างกันมากนัก สภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ
ฤดูฝน เริ่มต้นเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และยังมีร่องความกดอากาศต่ำพัดผ่านภาคใต้เป็นระยะๆ ต่อจากนั้นถึงเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นระยะแรกที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ยังคงมีฝนตกชุกต่อเนื่องจนถึงเดือนธันวาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีมากกว่า 1,100 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป และมีอากาศหนาวเย็นเป็นครั้งคราว โดยอุณหภูมิจะลดลงต่ำสุดในเดือนธันวาคมและมกราคม แต่เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติอยู่ด้านซ้ายฝั่งตะวันออกของภาคใต้ อุณหภูมิจึงลดลงเพียงเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม 20 อาศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู ระยะนี้เป็นช่องว่างของลมมรสุมหลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้น อากาศจะเริ่มร้อนโดยเฉพาะในเดือนมีมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายนประมาณ 29 อาศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 อาศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า ประเภทของป่าที่พบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา และป่าดิบแล้ง มีพันธุ์ไม้จำพวก ตะเคียน เสลา ตะแบก ยาง ยูง ยมหอม ยมป่า ขนาน ไข่เน่า ไทร พืชพื้นล่างเป็นไผ่ชนิดต่างๆ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางซึ่งเป็นภูเขาลาดชันเป็นเนินเขาสูงติดต่อกัน มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า หมีควาย หมีหมา เลียงผา เสือดำ ค่าง ชะนี ลิงกัง หมูป่า เม่น เก้ง กระรอก ค้างคาว และนกนานาชนิด ได้แก่ ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกกาฮัง นกเขาเปล้า นกขุนทอง นกปรอด ฯลฯ นอกจากนี้บนยอดเขาหลวงยังมีปูเจ้าฟ้า ( Phricotelphrsa sirinthorn )
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง ต.ห้วยยาง อ. ทับสะแก จ. ประจวบคีรีขันธ์ 77130 โทรศัพท์ 0 3264 6291 (VoIP), 08 4701 2795 โทรสาร 0 3264 6291 อีเมล reserve@dnp.go.th
7.น้ำตกป่าละอู ตั้งอยู่ ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ ในพื้นที่ป่าละอู มีพื้นที่ประมาณ 273,125 ไร่ อุดมไปด้วยป่าไม้เขียวชอุ่ม และสัตว์ป่านานาชนิด ป่าละอูจัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีหน่วยพิทักษ์อุทยานน้ำตกป่าละอูของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตั้งอยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำก่อนถึงตัวน้ำตกประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นผู้ดูแลน้ำตกป่าละอูประกอบด้วย น้ำตกละอูใหญ่ และน้ำตกละอูน้อย ซึ่งไหลลดหลั่นกันอย่างสวยงามถึง 11 ชั้น มีน้ำไหลตลอดทั้งปี สามารถลงเล่นน้ำได้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีผีเสื้อชุกชุม ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน ในช่วงเช้าตรู่เนื่องจากอากาศเย็นสบายและมีโอกาสพบเห็นสัตว์ป่ารวมทั้งนกหายากหลายชนิด
การเดินทาง จากตลาดหัวหิน มีทางแยกจากถนนเพชรเกษมไปทางทิศตะวันตก ตามทางหลวงหมายเลข 3219 จนสุดถนนราว 63 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านฟ้าประทาน แล้วเดินทางต่อไปอีกราว 4 กิโลเมตร สามารถเช่าเหมารถสองแถวไป-กลับได้ที่ถนนชมสินธุ์ในราคาประมาณ 800 บาท นักท่องเที่ยวต้องเสียค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานฯ ชาวไทยผู้ใหญ่ คนละ 40 บาท เด็ก คนละ 20 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 400 บาท เด็ก 200 บาท ในกรณีที่ต้องการพักค้างแรม ทางอุทยานฯ มีบริการบ้านพัก 8 หลังๆละ 800 บาท หรือ จะนำเต็นท์มาเองก็ได้ ราคา 30 บาท/คืน/คน ติดต่อขออนุญาตพักค้างแรมในเขตอุทยานฯได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานน้ำตกป่าละอู อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77110 หรือ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โทร. 0 3245 9293 หรือ ติดต่อได้ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขตบางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 หรือ www.dnp.go.th
8.น้ำตกคีรีล้อม ตำบลช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จากถนนเพชรเกษม บริเวณรอบอำเภอบางสะพานน้อย กับอำเภอบางสะพาน ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 20 กิโลเมตร จรถึงหมู่บ้านคีรีล้อม ตำบลช้างแรก ซึ่งฝั่งตัวอยู่ในป่าเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ที่ยังรักษาความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติอย่างพร้อมมูล หมู่บ้านแห่งนี้มีน้ำตกสวยงามไหลตลอดทั้งปี เรียกว่า "น้ำตกคีรีล้อม" ท้าทาย และสวยงาม ธรรมชาติยังอยู่ครบ เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวที่มุ่งหาความสุขกับธรรมชาติอย่างแท้จริง.
9.น้ำตกแก่งน้อย แก่งใหญ่ หมู่ที่ 1 ตำบลปากแพรก เดินทางสู่เส้นทางธรรมชาติ น้ำตกแก่งน้อย แก่งใหญ่ น้ำตกสวยงาม ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่น เป็นแนวยาว มีน้ำไหลตลอดปีสลับกับต้นไม้เป็นทิวแถว และยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วย กล้วยไม้ป่า ดอกไม้ป่าหายาก รวามทั้งสมุนไพรหายากหลากหลายชนิด ทิวทัศน์เงียบสงบ เหมาะสำหรับผู้เยี่ยมชมที่ต้องการพักผ่อน ผ่อนคลายจิตใจ บริเวณน้ำตกจะมีแก่งหินเล็กใหญ่สลับกันสวยงาม ติดต่อกันเป็นระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร และยังเหมาะสำหรับผู้ที่ชอบการผจญภัย