ReadyPlanet.com
dot
dot
หาดทรายขาวรีสอร์ท ( อ.บางสะพาน )
dot
dot
dot
bulletยินดีต้อนรับสู่บางสะพาน
bulletประวัติบางสะพานโดยละเอียด
bulletเส้นทาง - แผนที่รีสอร์ท
bulletแผนที่รีสอร์ทโดยสังเขป
bulletบรรยากาศชายทะเลหน้ารีสอร์ท
bulletเมนูอาหาร ครัวทรายขาว
dot
dot
dot
กิจกรรมของหาดทรายขาวรีสอร์ท
dot
bullet> ดำน้ำชมปะการังเกาะทะลุ
bullet> ออกทะเลตกหมึกตอนกลางคืน
bullet> camping ริมหาด
bullet> ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ชายหาด
dot
dot
bulletดำน้ำที่เกาะทะลุ
bulletอ่าวบ่อทองหลางบางสะพาน
bulletวัดทางสายเขาปักธงชัย
bulletสะพานปลาบ่อทองหลาง
bulletอ่าวแม่รำพึง
bulletเขาถ้ำม้าร้อง
bulletชมการร่อนทองบางสะพาน
bulletแผนผังที่เที่ยวระแวกใก้ลเคียง
bulletถ้ำเข้าคีรีวงศ์
bulletหาดบางเบิด
bulletพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์หว้าก้อ
bulletประวัติความเป็นมา จ.ประจวบ
bulletสภาพธรรมชาติของจ.ประจวบ
bulletสถาที่ต่างของบางสะพาน
bulletความเป็นมาของจังหวัดประจวบ
bulletวนอุทยานป่ากลางอ่าว
bulletที่พักบางสะพาน จ.ประจวบ
bulletอ.บ.ต อำเภอบางสะพาน
bulletรีสอร์บางสะพาน,บ้านกรูด
bulletทองบางสะพานราคาแพงมาก
bulletน้ำตกที่เที่ยวบางสะพาน
bulletท่านลูกค้าที่มาเยือน
bulletที่พักในตัวอำเภอบางสะพาน
bulletขายทาวน์โฮมพร้อมอยู่
bulletบ้านหัวหิน


คลิกดูรูปทะเลหน้าหาดทรายขาวรีสอร์ท
คลิกดูรูปทะเลหน้าหาดทรายขาวรีสอร์ท
ดำน้ำดูประกาลังที่เกาะทะลุ
รูปครัวทรายขาว
ครัวทรายขาว
 เกาะสังข์  เกาะสิงห์  มีปะการังน้ำตื้นที่สมบูรณ์เป็นบริเวณกว้างกว่า  1  ไร่
รูปต่างๆใกล้ๆหาดทรายขาว
ศาลานั่งพักผ่อนทานอาหารริมหาด
รูปถ่าย ส่วนของปลายเกาะทะลุ ฝั่งด้านตะวันตก
แผนที่ " หาดทรายขาวรีสอร์ท " โดยสังเขป จาก GOOGLE EARTH
โรสอินน์ บางสะพาน ห้องพักสะอาด สะดวกสบาย ราคาเยาว์ ใกล้ตลาด และอำเภอ ....LCD TV 50", ดาวเทียม , เคเบิ้ลทีวี , แอร์ , ตู้เย็น , เครื่องทำน้ำอุ่น Inter Net WiFi  tel. 032-692100
แผ่นที่หาดทรายขาวคลิกที่นี่


ประวัติความเป็นมา จ.ประจวบ

ประวัติและความเป็นมาของจังหวัดประจวบ
ประจวบฯ  เป็นจังหวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง  จากการขุดค้นพบซากโบราณคดี  มีผู้ค้นพบเครื่องมือสมัยหินกลาง  หรือที่เรียกว่า  เครื่องมือหินกะเทาะ  ที่เขื่อนเพชน  อ.ปราณบุรี  แสดงให้เห็นว่าเมื่อประมาณ  10,000 – 5,000  ปีมาแล้ว  เคยมีการตั้งชุมชนบริเวณนี้  นอกจากนี้ยังมีการค้นพบเครื่องมือสมัยหินใหม่  คือ  หินทุบผ้าเปลือกไม้  ที่  อ.ทับสะแกอีกด้วย

เป็นที่น่าสังเกตว่าประจวบฯ  ไม่สามารถตั้งขึ้นเป็นเมืองอย่างมั่นคงถาวรมาแต่สมัยโบราณ  สาเหตุเป็นเพราะมีช่องสิงขร  หรือด่านสิงขรอยู่ในเส้นทางเดินทัพจากพม่าผ่านมายังไทย  ช่องสิงขรจึงเป็นด่านแรกที่ต้องเผชิญกับข้าศึก  ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพย้ายถิ่นเพื่อหลบภัยสงครามเรื่อยมา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาประจวบฯ  มีชื่อปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าในชื่อเมืองนารัง  ซึ่งคาดว่าร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. 2310  จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่  2  โปรดเกล้าฯ  ให้ตั้งเมืองใหม่ที่ปากคลองบางนารม  เรียกว่า  เมืองบางนางรมตามชื่อคลอง  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่  4  มีการเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์  ในยุคนี้เองที่ประจวบฯ  มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก  ด้วยพระบาทสมเด็จประจอมเกล้าฯ  ทรงคำนวณว่าจะเกิดสุริยุปราคาที่  ต.หว้ากอ  ได้อย่างแม่นยำ  ทำให้ทั่วโลกได้ประจักษ์ถึงความสามารถด้านดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของคนไทย

ในสมัยรัชกาลที่  5  ทรงจัดการปกครองท้องถิ่นเป็นมณฑลเทศาภิบาล  โปรดเกล้าฯ  ให้ยุบเมืองประจวบคีรีขันธ์  เป็น  อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์  ขึ้นกับ จ.เพชรบุรี  และต่อมาได้รวม  อ.ปราณบุรี  อ.เมืองประจวบฯ  และ  อ.เมืองกำเนิดนพคุณ  ตั้งขึ้นเป็นเมืองจัตวา  เรียกว่า  เมืองปราณบุรี  (ส่วนเมืองปราณบุรีเดิม  ให้คงเรียกว่า  เมืองปราณ)  มีศาลากลางจังหวัดตั้งอยู่ที่  ต.เกาะหลัก  อ.เมืองประจวบฯ  จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่  6  โปรดเกล้าฯ  ให้เปลี่ยนชื่อ  จ.ปราณบุรี  เป็น  จ.ประจวบคีรีขันธ์  ตามเดิม

หัวหิน  เมืองตากอากาศยุคแรก เมื่อปี  พ.ศ. 2377  ต้นสมัยรัชกาลที่  3  ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจากเมืองเพชรบุรีได้อพยพหนีความอดอยากลงมาทางใต้  จนมาถึงบริเวณบ่อฝ้าย  หนองสะแก  และเขาตะเกียบ  ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์  มีแม่น้ำลำคลองไหลผ่าน ชาวบ้านเหล่านั้นจึงลงหลักปักฐานสร้างบ้านเรือนและทำประมงเป็นอาชีพหลัก  ต่อมามีชาวปักษ์ใต้  ได้แก่  ชาวภูเก็ต  พัทลุง  และตรัง  ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ด้วย  ทำให้ชุมชนขยายตัวใหญ่ขึ้น  เป็นชุมชนผสมระหว่างคนภาคกลางและคนภาคใต้มีภาษาพูดและสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ  เรียกว่าบ้านสมอเรียงตั้งอยู่ใกล้กับคลองสมอเรียง  เนื่องจากบริเวณนี้มีแนวโขดหิดใหญ่น้อยเรียงรายไปตามแนวชายฝั่ง  จึงมีการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านตามลักษณะภูมิศาสตร์ว่า  บ้านหินเรียง  ต่อมาได้กลายเป็นบ้านแหลมหินและบ้านหัวหินในที่สุด

หัวหินเริ่มเป็นที่รู้จักในสมัยรัชกาลที่  5  ซึ่งเป็นยุคแห่งเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองและระบบงานราชการ  ได้มีการกำหนดให้วันจันทร์ถึงวันศุกร์เป็นวันทำงาน  ส่วนวันเสาร์และวันอาทิตย์เป็นวันหยุดพักผ่อน  ด้วยภาระหน้าที่การงานที่หนักอึ้ง  ทำให้เจ้านายและขุนนางนิยมใช้ช่วงเวลาวันหยุดสุดสัปดาห์ไปพักผ่อนตากอากาศตามอย่างชาวตะวันตก  เชื่อกันว่าอากาศชายทะเลจะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง  หายเหนื่อยล้า  และได้พักผ่อนเต็มที่

เมื่อกรมรถไฟหลวงได้เปิดเส้นทางรถไฟสายใต้ผ่าน  ต.หัวหิน  ทำให้การเดินทางสะดวก  มีผู้คนมาเยือนมากขึ้น  ชื่อเสียงความงดงามของชายหาดสีขาว  สลับกับโขดหินที่เรียงรายอยู่ริมฝั่งก็โด่งดังขึ้น  และยิ่งมีชื่อเสียงเพิ่มขึ้น  เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์  ทรงสร้างพระตำหนักสุขเวศน์เป็นที่ประทับแรม  พร้อมทั้งยังได้เชิญชวนพระประยูรญาติมาสร้างบ้านพักตากอากาศ  ที่ชายหาดหัวหิน  แม้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชนนี  พระพันปีหลวงทรงสร้างพระตำหนักประทับแรมที่นี่เช่นกัน  เมื่อพระราชวงศ์ชั้นสูงเสด็จประทับตามอากาศที่หัวหินมากขึ้น  จึงมีการสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ  เช่น  การตัดถนนหนทางใน  ต.หัวหิน  เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง  ถนนสายแรกๆ  ที่สร้างขึ้นคือ  ถ.กำเนิดวิถี  ถ.ดำเนินเกษม  ซึ่งตัดจากสถานีรถไฟมายังพระตำหนักของสมเด็จพระพันปีหลวง  และ  ถ.นเรศดำริ  ซึ่งเป็นถนนเลียบชายทะเล  ถนนนี้สร้างเป็นที่ระลึกแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์  ผู้นำความเจริญมาสู่เมืองนี้

ในยุคที่เจ้านายและเชื้อพระวงศ์มาพักตากอากาศที่หัวหินนั้น  ทำให้หัวหินเป็นเมืองที่ได้รับความเจริญถึงขีดสุด  และการค้า  มีการสร้างโฮเต็ลหัวหิน  ซึ่งเป็นโรงแรมที่หรูหราและทันสมัยเฉกเช่นโรงแรมชั้นหนึ่งในเมืองกรุง  แขกที่มาใช้บริการส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ  นอกจากนี้ยังมีการสร้างสนามกอล์ฟหลวงหัวหิน  ตรงข้ามกับสถานีรถไฟหัวหิน  เป็นสนามกอล์ฟที่ออกแบบก่อสร้างได้ตรงตามมาตรฐานสากล  และมีชื่อเสียงที่สุดในเอเชียอาคเนย์

หัวหินเจริญที่สุดเมื่อรัชกาลที่  7  โปรดเกล้าฯ  ให้สร้างวังไกลกังวลเป็นสถานที่เสด็จแปรพระราชฐาน  หัวหินกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่  มีการก่อสร้างตลาดฉัตรไชยเพื่อเป็นแหล่งขายของกินของใช้  จัดเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นอย่างสุขลักษณะ  ตลาดแห่งนี้กลายเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของชาวกรุงที่มาพักผ่อน  กล่าวได้ว่าหัวหินในยุคนั้นเป็นแหล่งรวมคนดังของประเทศไทย  และเป็นแหล่งรวมแฟชั่นชุดเดินชายหาดอีกด้วย

หัวหินเงียบหายลงไปถนัดตาเมื่อคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศในปี  พ.ศ. 2475  เมื่อบ้านเมืองกลับมาอยู่ในความสงบเรียบร้อย  ชาวกรุงกลับมาเที่ยวที่หัวหินอีกครั้ง  แต่ต่างจากอดตกที่มีชนชั้นกลางมาพักที่หัวหินมากกว่าในยุคแรกๆ  หัวหินคึกคักมากกว่าเดิมหลายเท่า  กล่าวกันว่าคนกรุงในยุคนั้น  ถ้าไม้ได้ไปเที่ยวหัวหิน  จัดว่าเป็นคนล้าสมัยทีเดียว

มีอะไรให้เที่ยวบ้างในพื้นที่จังหวัดประจวบ แบ่งตามความนิยมได้ดังนี้

1.เที่ยวทะเล  ชายหาดใน  จ.ประจวบฯ  มีเสน่ห์ต่างจากชายทะเลแห่งอื่น  คือมีบรรยากาศที่เงียบสงบเป็นส่วนตัว  บางหาดไม่มีเครื่องเล่นหรือกีฬาทางน้ำ  นักท่องเที่ยวจะได้พักผ่อนกับธรรมชาติอย่างเต็มที่  นอกจากหาดหัวหินแล้ว  ยังมีหาดสวยๆ  อีกมาก  เช่น  หาดแหลมศาลา  หาดสามพระยา  อ่าวมะนาว  หาดวนกร หาดบ้านกรูด หาดดอนสำราญ ของอำเภอบางสะพานนั้นสวยมากๆเป็นพิเศษ เป็นต้น
นักท่องเที่ยวที่ชอบดำน้ำดูปะการัง  มีเกาะที่เป็นจุดดำน้ำตื้น  ได้แก่  เกาะสิงห์  เกาะสังข์  เกาะทะลุ  และเกาะลำร่า  ซึ่งอยู่แถบ  อ.บางสะพาน  ที่พักบางแห่งมีเรือบริการไปดำน้ำ  และมีอุปกรณ์ดำน้ำตื้นให้พร้อม  นอกจากนี้ยังมีหลายเกาะที่ได้ชื่อว่าปลาชุกชุม  สามารถเหมาเรือไปตกปลาได้  แต่ต้องนำเบ็ดไปเอง  เช่น  เกาะสิงโต  เกาะโครำ  เกาะนมสาว

2.เที่ยวป่า  เล่นน้ำตก  ดูนก  ดูผีเสื้อ  สำหรับผู้รักป่าเขาลำเนาไพร  ประจวบฯ  มีทั้งป่าโกงกาง  ป่าดงดิบชื้น  และพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่  ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด  มีน้ำตกหลายแห่งซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่นักดูนกและดูผีเสื้อ  เช่น  น้ำตกป่าละอู  น้ำตกห้วยยาง  น้ำตกเขาล้าน  น้ำตกเหล่านี้มีน้ำใสเย็น  เล่นได้ตลอดปีบางแห่งก็มีเส้นทางเดินมีศึกษาธรรมชาติซึ่งจัดทำไว้อย่างน่าสนใจ  ถ้าไม่ชอบเดินป่าก็สามารถนั่งเรือชมนกชมไม้ได้เช่นกัน  เช่น  ล่องคลองเขาแดง  และทุ่งสามร้อยยอด  ใน  อช.  เขาสามร้อยยอด

3.เที่ยววังและพิพิธภัณฑ์  หัวหินเป็นเมืองตากอากาศเก่าแก่  เป็นที่ตั้งของวังไกลกังวล  ซึ่งมีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตาที่น่าสนใจ  ตกแต่งด้วยพรรณไม้อย่างสวยงาม  นอกจากนี้ประจวบฯ  ยังเป็นดินแดนประวัติศาสตร์  นับแต่ครั้งรัชกาลที่  4  เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ  ปัจจุบันยังฐานตั้งกล้องดูดาวให้ชมที่โบราณสถานหว้ากอ  รวมถึงอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า  ณ  หว้ากอ  ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จัดแสดงได้อย่างทันสมัยน่าสนใจ  นอกจากนี้ในค่ายธนะรัชต์ก็มีพิพิธภัณฑ์ทางทหารและชีวประวัติของจอมพล  สฤษดิ์  ธนะรัชต์  อีกด้วย

4.เที่ยวถ้ำ  สำหรับถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยงดงามส่วนใหญ่อยู่ในเขต  อช.  เขาสามร้อยยอด  ได้แก่  ถ้าพระยานคร  ถ้ำแก้ว  และถ้ำไทร  ถ้ำพระยานครยังเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์  ซึ่งเคยเป็นพลับพลาที่ประทับในรัชกาลที่  5  ส่วนถ้ำอื่นๆ  ใน  อ.บางสะพาน  นักท่องเที่ยวนิยมไปไหว้พระกันมากกว่า  เพราะภายในถ้ำไม่สวยงามนัก

5.ขึ้นเขา  ชมวิว  เนื่องจากภูมิประเทศของจังหวัดมีทิวเขาสลับซับซ้อน  เขาสูงหลายลูกที่อยู่ในเขตชุมชนเมืองจึงกลายเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม  เช่น  เขาตะเกียบ  เขาหินเหล็กไฟ  ใน  อ.หัวหิน  เขาช่องกระจก  ใน  อ.เมือง  ภูเขาบางแห่งยังเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง  เช่น  เขาช่องกระจก  มีพระเจดีย์บรรลุพระบรมสารีริกธาตุ  เขาธงชัย  มีพระพุทธกิตติสิริชัย  และตำหนักกรมหลวงชุมพรฯ  เป็นต้น  นักท่องเที่ยวอาจแวะไปสักการะเพื่อเป็นสิริมงคล

 6.เที่ยวกินอาหารทะเล  จัดเป็นของแถมสำหรับนักท่องเที่ยวที่เป็นนักชิม  เพราะประจวบฯ  เป็นเมืองชายทะเล  หาอาหารทะเลกินได้ทั่วไปตั้งแต่แผงลอยในตลาดจนถึงภัตตาคาร  แต่จะให้ได้บรรยากาศจริงๆ  ต้องไปกินกันที่ชายทะเล  เช่น  หาดเขาเต่า  หาดเขาตะเกียบ  ริมทะเลหัวหิน  มีร้านอาหารทะเลตามสั่งหลายร้าน  การได้กินอาหารอร่อยท่างกลางบรรยากาศดีๆ  นับเป็นความสุขอย่างหนึ่ง

การขับรถเที่ยว
จากกรุงเทพฯ  ไปประจวบฯ  สามารถเลือกเดินทางได้สองเส้นทางคือ 

1.ใช้ถนนสายธนบุรี – ปากท่อ  (ทางหลวงหมายเลข  35)  ผ่านสมุทรสาคร  สมุทรสงคราม  แล้วเลี้ยวซ้ายเข้า  ถ.  เพชรเกษม  (ทางหลวงหมายเลข  4)  ผ่านเพชรบุรี  แล้วเข้าสู่  จ.ประจวบฯ  รวมระยะทางประมาณ  280  กม.  ใช้เวลาเดินทางประมาณ  3  ชม.  ครึ่ง  เส้นทางช่วงสมุทรสาคร – สมุทรสงคราม – เพชรบุรี  มีความสวยงาม  เป็นวิวเปิดโล่งสบาย  มองเห็นนาเกลือกว้างไกล  เหมาะจะขับรถชมทิวทัศน์  มีร้านอาหารและเพิงขายเกลือ ปลาเค็ม  น้ำปลา  กระจายอยู่เป็นระยะ

การเตรียมรถยนต์ก่อนเดินทาง ก่อนเดินทางควรตรวจสภาพรถยนต์ก่อนว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่  เพื่อความไม่ประมาท  ควรให้ช่างตรวจเช็กสภาพของรถยนต์ล่วงหน้า  ก่อนเดินทางควรตรวจสอบสิ่งต่อไปนี้ด้วยตนเองอีกครั้ง

   1.1ระดับน้ำมันเครื่อง  1.2ระดับน้ำมันในหม้อน้ำ  1.3ระดับน้ำมันเบรก  1.4ระดับน้ำมันคลัตช์  หรือระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ  1.5ลมยาง  1.
6ระดับน้ำล้างกระจก
 
2.ใช้  ถ.เพชรเกษม  ผ่านพุทธมณฑล  นครปฐม  ราชบุรี  เพชรบุรี  แล้วเข้าสู่  จ.ประจวบคีรีขันธ์  รวมระยะทางประมาณ  320  กม.  ใช้เวลาเดินทาง  4  ชม.  เส้นทางนี้เหมาะสำหรับนักเดินทางที่ต้องการแวะเที่ยวหรือซื้อของในจังหวัดอื่นๆ  ก่อนจะเข้า  จ.ประจวบฯ

การเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มี ถนนเพชรเกษม  เป็นเส้นทางหลัก  มีอำเภอต่างๆ  ตั้งเรียงรายไปตามถนนนี้  เริ่มจากหัวหิน ,สามร้อยยอด  ,กุยบุรี   ,เมืองประจวบฯ   ,ทับสะแก  ,บางสะพาน  ,และบางสะพานน้อย  มีทางแยกเข้าไปที่เที่ยวแต่ละจุ  ถนนส่วนใหญ่เป็นทางลาดยาง  ยกเว้นเส้นทางเล็กๆ  ไปแหล่งท่องเที่ยวบางจุด  อาจมีทางลาดชันหรือเป็นทางลูกรัง โดยเฉพาะน้ำตกบางแห่งบนเทือกเขาตะนาวศรี  รถเก๋งไม่สามารถเข้าถึงได้ต้องใช้รถยนต์ที่มีช่วงล่างสูงเท่านั้น

สิ่งที่ต้องพึงระวังในการขับรถท่องเที่ยวใน  จ.ประจวบฯ  คือระหว่างการเดินทางต้องข้ามทางรถไฟที่ไม่มีสัญญาณไฟและแฝงกั้นหลายแห่ง

เส้นทางช่วงหัวหิน – ปราณบุรี  จะเห็นชาวไร่ตั้งเพิงขายของทั้งสองฝั่งถนน  ส่วนใหญ่เป็นสับปะรดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสับปะรด  สามารถแวะซื้อหาเป็นของฝากได้

 อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องเตรียมไว้ในรถยนต์ อุปกรณ์เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นกรณีที่รถยนต์เกิดเหตุขัดข้องระหว่างการเดินทาง  ควรมีความประจำไว้ในรถยนต์  ไม่ควรนำออกไป  ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม

1.ยางอะไหล่ ,2.แม่แรงและที่ขันนอตล้อ ,3.สายลากรถ ,4.สายพ่วงแบตเตอรี่  โดยเฉพาะสำหรับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ  ,5.เครื่องมือพื้นฐาน  เช่น  ไขควง  คีม  เป็นต้น
 
โปรดสังเกตป้ายระหว่างทาง
 
ตามพื้นที่  อช.  ต่างๆ  ซึ่งมีป่าอุดมสมบูรณ์  เช่น  อช.  เขาสามร้อยยอด  อช.  น้ำตกห้วยยาง  ป่าละอู  มักจะมีป้ายระวังสัตว์  เช่น  ช้าง  ลิง  ค่าง  เป็นต้น  นักท่องเที่ยวควรลดความเร็วและขับรถอย่างระมัดระวัง  หากพบสัตว์ให้ขับรถช้าๆ  ไม่ควรบีบแต่  เพราะอาจทำให้สัตว์ตื่นตกใจ  และเข้ามาทำร้ายได้    







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Share